รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model)โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน(แลนด์บริดจ์) ในพื้นที่ จ.ชุมพร และ ระนอง รวมทั้งหมด 8 เวที เมื่อวันที่ 6-11 มิ.ย.65

เพื่อเสนอความเป็นมา รูปแบบการพัฒนาโครงการเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ1.08ล้านล้านบาทเพื่อให้รองรับปริมาณสินค้าได้20ล้านTEUsประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรืองบประมาณลงทุนท่าเรือฝั่งละ 400,000 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือที่มีศักยภาพและเหมาะสม ฝั่งอ่าวไทยจ.ชุมพรคือแหลมริ่วส่วนฝั่งอันดามัน จ.ระนองคือ แหลมอ่าวอ่างคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รวมทั้งเสนอแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-Map)เส้นทางMR8 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 89.35 กมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. งบประมาณลงทุน 200,000ล้านบาท จุดเริ่มต้นโครงการช่วง กม.0+000 บริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร สิ้นสุดที่ กม.89+350 บริเวณแหลมอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง จ.ระนอง รูปแบบเบื้องต้นในช่วงทั่วไปมอเตอร์เวย์มีขนาด 6 ช่อง ไป-กลับ พร้อมถนนบริการด้านซ้ายและด้านขวาขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ ส่วนทางรถไฟขนาด 4 ราง ขณะที่ช่วงอุโมงค์ อุโมงค์รถยนต์มี 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง และอุโมงค์รถไฟ 2 รางต่อทิศทาง

ส่วนผลรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่พบว่าเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เนื่องจากพื้นที่ไม่มีการพัฒนามานานแล้ว ดังนั้นหากมีการสร้างท่าเรือ สร้างทางรถไฟ และมอเตอร์เวย์จะนำความเจริญมาสู่ในพื้นที่ได้ เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเฉพาะรถไฟที่ชาวระนองอยากได้มานานแล้ว เพราะจะช่วยเพิ่มทางเลือกเดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เพิ่มปริมาณขนส่งสินค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นห่วงเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน(เวนคืน)ต้องเหมาะสมเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย รวมทั้งต้องไม่กระทบการทำประมงชายฝั่ง รวมทั้งไม่กระทบด้านสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ป่าชายเลนด้วย

หลังจากนี้ สนข. นำข้อคิดเห็นของที่ประชุมมาใช้ประกอบผลการศึกษาให้สมบูรณ์มากที่สุด ก่อนออกแบบรายละเอียดท่าเรือทั้ง 2 แห่ง เส้นทางMR8 ชุมพร-ระนอง การเวนคืน การจัดทำรูปแบบการลงทุน งบประมาณที่ชัดเจน และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)จากนั้นนำมารับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่อีกครั้ง โดยผลการศึกษาแล้วเสร็จ ก.ย.66 จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป

By admin