ในสถานการณ์อันซับซ้อนของสงครามอิสราเอล-ฮามาส นอกจากชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ที่ต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากคมกระสุนและความรุนแรงต่าง ๆ แล้ว คนอีกกลุ่มหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือชาวต่างชาติที่ไปทำงานหรือเที่ยวอยู่ในอิสราเอล ณ เวลาที่เกิดสงคราม

โดยเฉพาะแรงงานไทยในภาคการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยค่าแรงที่สูงชนิดที่หาไม่ได้ในประเทศไทย แต่นั่นก็ทำให้คนไทยจำนวนมากกลายเป็นหนึ่งในเหยื่อของสงครามครั้งนี้เช่นกัน

กลุ่มสิทธิมนุษยชนเผย อิสราเอลจับแรงงานชาวกาซาไว้หลายพันคน

กลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ในรัสเซียบุกสนามบิน หาตัวชาวอิสราเอล

กต.ตำหนิ กรณีเผยภาพคนไทยในอิสราเอลถูกสังหารโหดต่อที่ประชุมยูเอ็น

The Times สื่อเก่าแก่ของอังกฤษ ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับแรงงานไทยในอิสราเอล ว่าพวกเขาเหมือนกำลังอยู่ในฐานะ “เหยื่อที่ถูกลืม”

เจนิซ เทอร์เนอร์ นักข่าวและคอลัมนิสต์ของ The Times ซึ่งเป็นเจ้าของบทความดังกล่าว เขียนว่า “ถ้าถามว่า ประเทศใดที่ไม่ใช่อิสราเอลซึ่งมีพลเมืองถูกจับเป็นตัวประกันมากที่สุด? คุณจะไม่มีทางเดาได้เลยว่า มันไม่ใช่สหรัฐฯ อังกฤษ หรือประเทศในสหภาพยุโรป แต่เป็นประเทศไทย”

เทอร์เนอร์ระบุว่า “ความจริงที่ว่าตัวเลขความสูญเสียไม่ชัดเจน เช่น มีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 ราย มีผู้ถูกลักพาตัวหรือสูญหายระหว่าง 19-54 ราย สะท้อนให้เห็นถึงความสับสนวุ่นวายของข้อมูล แม้แต่สถานะของพวกเขา ณ ปัจจุบันก็ไม่มีใครทราบ ใบหน้าของคนไทยไม่ปรากฏบนโปสเตอร์ รัฐบาลไทยยังคงนิ่งเงียบทางการทูต คำให้การของผู้รอดชีวิตชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยซ้ำ”

 สื่อนอกมอง แรงงานไทยในอิสราเอล เป็นเหมือน “เหยื่อที่ถูกลืม”

เธอบอกว่า ความขัดแย้งอันน่าสยดสยองนี้บังคับให้เราต้องชั่งน้ำหนักคุณค่าของชีวิตมนุษย์ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตวัยรุ่นชาวอิสราเอล หรือชีวิตเด็กชาวกาซา “ฉันไม่อยากคิดคำนวณในสมการที่น่าเศร้านี้ แต่ฉันสนใจในสิ่งที่มองไม่เห็น เพราะพวกเขาไม่มีประโยชน์ทางการเมืองสำหรับทั้งสองฝ่าย ทั้งชาวยิวและมุสลิม ไม่ใช่พลเมืองของประเทศที่มั่งคั่งหรือมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ คนไทยแทบจะเป็นเสมือนตัวประกอบในสนามรบ เช่น ปศุสัตว์ที่ตายแล้วหรือพืชผลที่ถูกเผา”

ทำไมคนไทยถึงอยู่ที่อิสราเอล ไกลจากบ้านหลายพันหลายหมื่นกิโลเมตร เพราะพวกเขาคิดเป็นเกือบ 100% ของแรงงานต่างชาติในภาคเกษตรกรรมของอิสราเอล

แรงงานไทยเข้ามาแทนที่ชาวปาเลสไตน์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าของที่ดินนี้ซึ่งรู้วิธีการเพาะปลูก แรงงานปาเลสไตน์ราคาถูกถูกยึดครองดินแดน และมีโอกาสทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เพียงเล็กน้อย ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของอิสราเอลสามารถแข่งขันในซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปได้

แต่หลังจากเหตุการณ์ในปี 1987 แรงงานชาวอาหรับเริ่มโจมตีและเผชิญหน้ากับนายจ้างเพื่อแสวงหาเป้าหมายทางการเมือง ทำให้ความมั่งคั่งและความมั่นคงทางอาหารของอิสราเอลถูกคุกคาม แรงงานจากภายนอกจึงมีความจำเป็น

“ดังนั้น ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ และไม่มีส่วนได้เสียในการต่อสู้อันขมขื่นนี้จึงเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบ” เทอร์เนอร์ระบุ

แรงงานส่วนใหญ่มาจากชนบทที่ยากจนในภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยหวังว่าจะสามารถส่งเงินกลับบ้านจากค่าจ้างที่สูงกว่า เพื่อนำไปสร้างบ้านหรือซื้อรถยนต์ในที่สุด

แต่พวกเขาต้องจ่ายเงินให้คนกลางเป็นเงิน 9,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 320,000 บาท) เป็นระยะเวลา 5 ปี และลดลงมาเหลือ 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ (75,000 บาท) ในปี 2013 จากการก่อตั้งโครงการความร่วมมือไทย-อิสราเอลในการจัดหาคนงาน (TIC) ถึงกระนั้น เงินจำนวนนี้ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะชำระ ส่งผลให้คนไทยกลายเป็นแรงงานที่มีพันธะผูกพัน

เทอร์เนอร์บอกว่า แรงงานไทยอาศัยอยู่ในฟาร์มห่างไกลหลายแห่งรอบ ๆ ฉนวนกาซาซึ่งเต็มไปด้วยอันตราย พวกเขาไม่สามารถพูดภาษาฮีบรูหรือภาษาอังกฤษได้ พวกเขากลายเป็นชุมชนที่แยกจากชีวิตชาวอิสราเอล และง่ายต่อการถูกแสวงหาประโยชน์

กลุ่มสิทธิมนุษยชน รวมถึง Human Rights Watch รายงานว่า แรงงานไทยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล ทำงานหนักเกินไป ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และอยู่ในที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรม บางคนที่ไม่ได้อยู่สหภาพแรงงาน มาด้วยวีซ่าชั่วคราว มีหนี้ท่วมหัว ทางเลือกเดียวของพวกเขาคือทำงานต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เทอร์เนอร์ยังเปรียบเปรยสถนาะของคนไทยอิสราเอลว่าแทบไม่ต่างกับแรงงานที่ประสบเภทภัยในอดีต “เมื่อเกิดภัยพิบัติ แทบไม่มีครั้งใดที่เราจะสังเกตเห็นกลุ่มคนที่เงียบงันซึ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เราแทบจะไม่คิดถึงชีวิตของผู้หญิงเวียดนามที่ทำเล็บเท้าราคาถูกที่ถนนไฮสตรีท จนกระทั่งพวกเธอต้องสลบไปในรถบรรทุกห้องเย็นที่ปิดสนิทโดยผู้ค้ามนุษย์ หรือสภาพที่เลวร้ายและอุบัติเหตุของแรงงานที่สร้างตึกระฟ้าและสนามกีฬาในตะวันออกกลาง ซึ่งได้เข้าสู่จิตสำนึกสาธารณะในช่วงสั้น ๆ ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกกาตาร์ปี 2022 แต่ผู้เล่นที่ได้รับสัญญามุลค่าหลายล้านจากสโมสรอาหรับก้มักจะปิดปากเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือชีวิตอันน่าสยดสยองของคนเก็บหอยแครงชาวจีนที่ดำเนินการโดยอันธพาลผู้โหดร้ายนั้นก็ไม่มีใครเคยมองเห็น จนกระทั่งมีผู้เสียชีวิต 23 รายที่อ่าวมอร์คัมบ์ในปี 2004”

ไม่ชัดเจนว่า กลุ่มฮามาสสังหารชาวไทยโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือมุ่งเป้าไปที่ภาคเกษตรกรรมของอิสราเอลด้วยการทำให้แรงงานกลุ่มนี้หวาดกลัว ณ ขณะนี้มีคนไทยกลับบ้านแล้ว 4,000-5,000 คน และยังมีกลุ่มรอที่จะกลับประเทศอีกจำนวนมาก แต่หลายคนยังคงอยู่หรือรายงานว่าจะไม่กลับไม่ว่าจะมีความเสี่ยงใดก็ตาม เพราะกลัวว่านายจ้างชาวอิสราเอลจะระงับค่าจ้างของตนหรือถูกล่อลวงด้วยการขึ้นค่าจ้าง

เทอร์เนอร์ยังวิจารณ์รัฐบาลไทยด้วยว่า “ขณะที่ศพถูกส่งมายังกรุงเทพฯ และผู้บาดเจ็บเล่าให้ฟังว่าต้องเห็นเพื่อนตายหรือถูกทิ้งให้ตาย รัฐบาลไทยก็ยังคงนิ่งเงียบ พวกเขาไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนับตั้งแต่สงครามเย็น โดยอ้างว่าเป็นวิถีไทย นอกจากนี้ ยังต้องการการลงทุน ต้องอาศัยการท่องเที่ยว โดยมีชาวอิสราเอลเที่ยวไทยปีละ 160,000 คน”

คอลัมนิสต์ของ The Times ปิดท้ายอย่างเจ็บแสบว่า

ในขณะที่สถานการณ์อิสราเอล-กาซายังคงดุเดือด ตัวประกันชาวไทยไม่ได้มีความสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับใครเลย เป็นเพียงพลเมืองสถานะต่ำต้อยของประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องจุดหมายเพื่อการหยุดพักผ่อนในเขตร้อนที่ราคาไม่แพงและมีทะเลสีฟ้าคราม แต่กลับต้องมาติดอยู่ในวังวนของสงครามที่ยากจะแก้ไขมากที่สุดในโลก

เรียบเรียงจาก The Times

ภาพจาก Emmanuel DUNAND / AFP

เปิดสถิติหวยออกประจำปี 2566

ลดเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 อย่างละ 1 บาทต่อลิตร รวม 2.50 บาท

สรุปผลการมอบรางวัลบัลลงดอร์ Ballon d'Or ประจำปี 2023

By admin